1.กำหนดสิ่งที่อยากทำ
เมื่อเราคิดอย ากเป็นเจ้าของธุรกิจขึ้นมา เราก็ต้องค้นหาหรือถามตัวเองก่อนว่า เรานั้นอย ากทำอะไร
หรือมีสิ่งที่ชอบเป็นพิเศษมั้ย ? ยิ่งถ้าเรารักในสิ่งที่เราอย ากทำด้วยแล้ว ก็จะทำให้ธุรกิจที่จะทำ
ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นเพราะเราจะตั้งใจทำอย่ างเต็มความสามารถนั่นเอง
2.เริ่มต้นจากธุรกิจขนาดเล็ก ๆ ก่อน
ซึ่งมันเป็นการทดลองการทำธุรกิจว่าจะไปได้หรือไม่ได้เหมือนเป็นการลองผิดลองถูก ถ้าเจ๊งก็
ไม่ต้องเสี ยเงินหรืองบประมาณจำนวนมากไป แต่ถ้าธุรกิจนั้นมันไปได้รอด หรือได้รับการตอบรับที่ดี
จากตลาดและลูกค้า เราก็ค่อย ๆ ขยับขย ายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น และที่สำคัญนั้นมันเหมาะสำหรับ
ช่วงที่เรายังทำงานประจำอยู่ ที่เรายังไม่สามารถปลีกตัวไปทำแบบเต็มตัวได้ ก็ต้องลองทำธูรกิจ
ขนาดเล็กๆไปก่อน
3.วางโครงสร้างบริษัท
ในเวลาเดียวกันถ้าเราจะเดินหน้าธุรกิจจริง ๆ ต้องมองด้วยว่าเราจะจัดตั้งบริษัทในรูปแบบไหน เช่น บริษัทคน
เดียว หรือหุ้นส่วน หรือจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นต้น เพื่อที่จะได้รับการดูแลตามกฎหมาย
อย่ างถูกต้อง
4.ตั้งงบประมาณในการทำงาน
ในช่วงเวลาที่เรากำลังทำงานประจำ อาจจะไม่สามารถจัดสรรเรื่องงบประมาณในการทำธุรกิจได้อย่ างเต็มที่
แต่เมื่อเราออกจากงานประจำมาบริหารกิจการของเราอย่ างเต็มที่แล้ว สิ่งแรกที่ควรต้องทำเลยก็คือ เราต้อง
บริหารงบประมาณในการทำธุรกิจ ให้แยกออกเป็นแต่ละส่วน ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การตลาด การจำหน่าย
การขนส่ง รวมเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท เป็นต้น
5.วางแผนการตลาดและแผนธุรกิจ
การตลาดที่ได้รับความนิยม ในวันนี้คือการใช้ช่องทางสื่อสารผ่านทางออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านทาง
Social Media ต่างๆ เพราะเราสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีที่สุด ในขณะเดียวกันนั้น เราก็
ต้องจัดทำแผนธุรกิจ ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ว่าเป้าหมายของธุรกิจคืออะไร เราต้องทำงานอะไรบ้าง
เพื่อให้เราประสบความสำเร็จ
6.มองโอกาสของธุรกิจ
สิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะถึงแม้ว่าเราจะชอบหรืออย ากจะทำอะไรตามต้องการ แต่ถ้า
ทำไปแล้วไม่มีลูกค้าไม่มีคนซื้อก็ถือว่ามันไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้น การที่เราคิดจะทำธุรกิจอะไร
ก็ต้องรู้จักวิเคราะห์ตลาดและพฤติก ร ร มของผู้บริโภคด้วยว่า ลงทุนวันนี้แล้วพรุ่งนี้ลูกค้ายังจะซื้อเรา
อีกไหม หรือธุรกิจที่เราชอบในวันนี้อีก1-2ปีข้างหน้ายังจะได้รับความนิยมอยู่มั้ย เราต้องมองโอกาสของ
ธุรกิจควบคู่กันไปด้วย
7.สอบถามลูกค้าเพื่อหาไอเดีย
ก่อนเราจะลงทุนทำธุรกิจอะไรให้ประสบความสำเร็จเราต้องดูเทรนด์ตลาดและความต้องการของผู้บริโภค
ด้วย อาจจะทำแบบสอบถามหรือพูดคุยกับลูกค้าในพื้นที่นั้นๆโดยตรงหรือสอบถามทางช่องทางออนไลน์
ก็ได้ว่าลูกค้าชอบสินค้า หรือบริการที่เราอย ากจะทำหรือไม่ เพื่อเป็นการแนวร่วมเดียวกัน ถ้าสอบถามจาก
หลายๆคน แล้วบอกว่าพวกเขาไม่ชอบ เราก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจก่อนที่จะลงทุนจริงจังได้ทันเวลาด้วย
8.ลาออกจากงานประจำ
เมื่อธุรกิจพร้อมแล้ว ต่อไปก็ให้เราลาออกจากงานประจำเพื่อทำงานของตัวเองอย่ างเต็มที่ แต่ก็อย่ าลืมด้วยว่า
ในการออกมาทำธุรกิจของตัวเองนั้น ในวันข้างหน้าเราอาจจะต้องได้พบเจอกับหัวหน้าเก่า เจ้านายเก่า
หรือเพื่อนร่วมงานเก่ าๆ ด้วย ดังนั้นก่อนลาออกจากงานเราต้องบอกเจ้านาย และเพื่อนร่วมงานให้ดี
จะได้ไม่บ าดหมางใจกันเพราะอนาคตธุรกิจอาจต้องพึ่งพาช่วยเหลือกัน
9.รวบรวมทีมงาน
ถ้าความคิดในการทำธุรกิจของเราจะเป็นไปได้มากที่สุดผลการตอบรับจากช่วงทดลองทำการตลาด
ได้รับผลการตอบรับที่ดี ต่อไปเราต้องคิดว่าถ้าเราออกจากงานเพื่อมาทำธุรกิจของเราเต็มเวลา
เราจำเป็นต้องมีทีมงานเพื่อการขย ายธุรกิจให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นทีมงาน
การตลาด การเงิน การผลิต การบริการลูกค้า เป็นต้น
10.การหาแหล่งเงินทุน
ถ้าเราคิดจะทำธุรกิจขนาดเล็ก เราอาจใช้เงินเก็บจากการทำงานประจำมาใช้จ่ายช่วง 1-2 เดือนแรกก่อนก็ได้
ถ้าหากมีเงินเก็บจำนวนมาก แต่ถ้าอย ากทำธุรกิจที่มันใหญ่ขึ้น เพราะมีตลาดและลูกค้ารองรับอยู่แล้ว
ก็อาจจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนที่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ
11.ประเมินธุรกิจและปรับเปลี่ยน
หลังจากที่เราได้ทดลอง หรือเริ่มต้นทำธุรกิจไปแล้วพอผ่านไปได้ประมาณเดือนกว่าๆ ก็ลองมาวิเคราะห์
ธุรกิจดูว่าผลกาตอบรับจากตลาด และลูกค้าของเราเป็นอย่างไร ยอดขายเพิ่มขึ้นทุกวันหรือไม่ หรือคงที่
หรือยอดขายตก เมื่อเราเห็นภาพก็จะสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที โดยนำเอาข้อเสนอแนะ
จากลูกค้ามาปรับปรุงให้ตอบโจทย์ลูกค้าจะดีที่สุด
12.ปรับขนาดธุรกิจตามแผนการตลาด
สุดท้ายคือการทำธุรกิจ ให้เป็นไปตามแผนงานหรือแผนธุรกิจที่เราได้เขียนเอาไว้ตั้งแต่เริ่มต้น
ถ้าออกจากงานแล้วธุรกิจไปได้สวย แต่ตอนแรกแผนธุรกิจเขียนเล็กๆเรา ก็ต้องมาปรับขนาดธุรกิจ
ให้เท่ากับแผนการตลาดในปัจจุบันด้วย เช่น ถ้าหากสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศมาก
กว่า เราก็ต้องปรับขนาดธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นตามด้วยเพื่อรองรับตลาดต่างประเทศ เช่น อาจต้องเพิ่ม
ทีมงานด้านต่างประเทศ โดยเฉพาะรวมถึงเพิ่มกำลังการผลิตที่มากขึ้นด้วยนั่นเอง
ขอบคุณ : t h e – w a y o f l i f q w e