1.ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้
การตั้งเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้จะทำให้เรารู้ว่าต้องออมเท่าไหร่และนานแค่ไหน จึงจะไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการ
อย่าลืมว่าจำนวนเงินที่คุณขาด นั่นคือเอาเป้าหมายลบกับที่มีอยู่ในวันนี้ ต้องไม่เกินกว่ากำลังวังชาของคุณที่จะเก็บออม
หรือ ล ง ทุ น เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น
2.กระจายเงินออมไปอยู่ในสินทรัพย์ที่เหมาะกับเป้าหมาย
ในเมื่อตัดสินใจจะพัฒนาทักษะการออมของตัวเองแล้ว การเก็บเงินไว้ธนาคารอาจง่ายต่อการถอนมาใช้
ดังนั้นจึงควรกระจายเงินออมของเราไปยังที่ที่เหมาะกับเป้าหมายเช่นถ้าเป็นการออม ร ะ ย ะ ย า ว เพื่อเป้าหมายเกษียณ
อีกนานกว่าจะใช้เงิน ก็ควรหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากสินทรัพย์ที่เสี่ย งมากขึ้นและล งทุนใน ร ะ ย ะ ยา วเป็นต้น
ซึ่งนี่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายเงินออมได้มากขึ้นด้วย
3.ทำงบการเงินส่วนบุคคล และวางแผนการใช้จ่าย
เพราะเมื่อเราวางแผนการใช้เงิน ก็จะทำให้ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปได้ทำให้เรามีเงินเก็บสำหรับเป้าหมายในอนาคต
มีเงินสำรอง ฉุ ก เ ฉิ น หรือแม้แต่ลำดับความสำคัญของการออมเงินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการทำงบการเงินส่วนบุคคลก็ไม่ยาก แค่แยกรายรับ ว่ามีอะไรบ้าง เงินเดือนโบนัส รายได้เสริม รวมกันให้หมด
เสร็จแล้วก็มาดูฝั่งรายจ่ายว่ามีอะไรบ้างในแต่วัน-แต่ละเดือน ทั้งค่า อ า ห า ร เสื้อผ้า บ้าน รถ การศึกษา หรือค่าใช้จ่าย
เบ็ดเตล็ดส่วนตัว พอประมาณทั้ง 2 ฝั่งได้แล้วก็ลองเอามาบวกลบกันดู ถ้าต้องใช้มากกว่าที่หามาได้ จะได้สามารถ
ลดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไป
4.ใส่ใจกับ Lifestyle Inflation ของตัวเอง
คนส่วนใหญ่มักจ่ายมากขึ้นเมื่อรายได้ของเขาสูงขึ้น คนบางคนตอนมีรายได้30,000 บาทอาจใช้แค่ 15,000 บาท
(หรือ 50%) แล้วเหลือเก็บอีก 15,000 บาทแต่พอรายได้เพิ่มเป็น 50,000 บาท อาจใช้ถึง 35,000 บาท โดยคิดว่าเหลือ
เก็บเท่าเดิมคือ 15,000 บาท แต่จริงๆ แล้ว กลับคิดเป็นสัดส่วนของค่าใช้จ่ายถึง 70% เหลือเก็บแค่ 30% เท่านั้น
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากกว่ารายได้ที่เพิ่มเรียกว่าเป็น Lifestyle Inflation นั่นเอง ดังนั้นต้องตัดสินใจและคำนวณให้ดีว่าเมื่อ
รายได้เราสูงขึ้นจะใช้มากขึ้นแค่ไหน หรือเก็บมากขึ้นอย่างไร เพื่อจะได้วางแผนการออมในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
5.เข้าใจความต่างระหว่าง “จำเป็น” กับ “ต้องการ”
“จำเป็น” คือ ต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิต เช่น อ า ห า ร เสื้อผ้า ห ยู บ ย า การเดินทางแต่ถ้าแค่ “ต้องการ”
แล้วล่ะก็เป็นแค่สิ่งที่เราอยากได้…แต่ไม่ได้สำคัญมากมายกับการดำรงชีวิต ซึ่งเราต้องแยกให้ออกเพื่อจะได้บริหารจัดการ
ค่าใช้จ่ายและเงินออมของตนเองได้
ขอบคุณ : w e a l t h m e u p