1. “มุ่งสร้างตัวด้วยสองมือเปล่า ไม่สนใจมรดกหรือ การสนับสนุนจากพ่อแม่”
80% ของ “เจ้าของเงินล้าน” สร้างเงินล้านด้วย มือเขาเองล้วนๆ น้อยคน ที่จะพี่งพาพ่อแม่ หรือเฝ้ารอมรดก
ยิ่งเริ่มต้นจากมือเปล่า พวกเขาก็ยิ่งแกร่งเจ้าของเงินล้านส่วนใหญ่ สามารถยืนได้บนลำแข้งของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย
2. เลือกอาชีพที่ “ใช่”
“เจ้าของเงินล้าน” อาจมีอาชีพหลากหลาย แต่สำคัญมันต้องเป็น อาชีพที่ “ใช่” สำหรับเขาเท่านั้น
จริงอยู่ที่ผู้ประกอบการมีโอกาสเป็น “เจ้าของเงินล้าน” เร็วกว่าคนทั่วไป 4 เท่า แต่กระนั้นก็ไม่พบว่า
มีธุรกิจประเภทหนึ่งประเภทใดที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าประเภทอื่นๆ
สรุปว่า ความร่ำรวยมาจากลักษณะนิสัย ของพวกเขา
มากกว่าประเภทธุรกิจ ที่เลือกทำ ซึ่งข้อนี้
ต่างจากที่พวกเราชอบทำกัน คือเลือกอาชีพที่นิยม
มากกว่าอาชีพที่ใช่อย่างเช่น ช่วงร้านกาแฟบูม
ก็แห่กัน เปิดร้านกาแฟจนเต็มไปหมด ในที่สุดหลายๆ ร้านก็ต้องพับกระเป๋า กลับบ้านข าดทุนกันไป
3. “ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ไปกับการวางแผนสร้างตัว”
“เจ้าของเงินล้าน” มักใช้เวลา เฉลี่ย วันละ 8 ชั่ วโมง กับการวางแผนชีวิต
ขณะที่คนทั่วไปใช้เวลาคิดแต่เรื่องหาความสุข หลายคนเมื่อพูดถึงเรื่อง การวางแผนการเงินมักจะบอกว่า
“ไม่มีเวลา” ทั้งที่จริงๆ แล้วใช้เวลาน้อยมาก ไม่กี่นาทีในแต่ละวัน แต่กลับมีเวลาเดินตลาดเพื่อใช้จ่ายเงิน
วันละกว่าชั่ วโมง คนทั่วไปมองการเริ่มธุรกิจส่วนตัว ว่าเป็นความเสี่ ย ง แต่คนรวย (และคนที่มีโอกาสรวย)
จะมองเป็นเส้นทางสู่ฐานะที่มั่งคั่ง – คนทั่วไปมองเงิน มองด้วยสมการเส้นตรง
เช่น สมมติทำงาน ได้ชั่ วโมงละ $X ถ้ายอมทำงานเยอะขึ้น ก็จะได้เงินมากขึ้น แม้แต่ผู้ที่มีการศึกษาดี
ก็คิดว่า การเรียน MBA จะช่วยให้ได้เงินมากขึ้น (ก็จริง แต่ก็เป็นการมองแบบเส้นตรง เช่นกัน
คือ ให้เวลากับการเรียน เพื่อสุดท้าย จะเอาวุฒิไปต่อรองรายได้ให้มากขึ้น)
ส่วนคนรวยจะมองที่ไอเดีย โดยเฉพาะไอเดีย ที่จะช่วยแก้ปัญหา
(และตอบโจทย์ความต้องการ) ของผู้คนได้และทำเงิน จากเรื่องเหล่านี้
แต่ถึงกระนั้น คนรวยก็ไม่ได้กระโดดเข้าใส่ไอเดีย
อย่างไม่ลืมหูลืมหา เขาจะศึกษาความเสี่ ย ง อย่างดีก่อนที่จะลงมือทำ
4. “ให้ความสำคัญกับอิสรภาพทางการเงินมากกว่าสถานะทางสังคม”
“เจ้าของเงินล้าน” ตัวจริงชอบใช้ชีวิต แบบชนชั้นกลางอยู่ในบ้าน ขนาดพอสบาย ขับรถยี่ห้อทั่วๆ ไป
ที่ใช้งานได้ดี พวกเขาไม่ชอบแข่งขันเอาหน้ากับใคร จึงไม่ต้องมีหนี้ก้อนใหญ่ไว้คอยฉุดดึงชีวิต
วันก่อนได้ไปร่วมบรรย ายเรื่อง การวางแผนการเงิน พบว่า สาเหตุหนึ่งของการมีหนี้เยอะ คือ การชอบ
เปรียบเทียบกับ ชาวบ้านเห็นข้างบ้านมีอะไรแล้ว ต้องมีมากกว่า ดีกว่า
ไม่รู้แข่งขันไปได้ประโยชน์อะไรเพราะ สุดท้ายคนที่ h a p p y คือ คนขายของ ส่วนคนที่ทุกข์ คือ ตัวเราเอง
5. “ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล”
คนส่วนใหญ่ ถึงทำงานหนัก กระเป๋าหนัก แต่มักใช้จ่ายหนักด้วยจึงรวยไม่สำเร็จ
ตรงกันข้ามกับ “เจ้าของเงินล้าน” ที่ทั้งทำงานหนัก กระเป๋าหนัก แต่คิดหนักด้วย
เมื่อใช้จ่ายเปรียบคนทั่วไป เป็นนักฟุตบอลกองหน้าที่มุ่งแต่จะทำเกม
จนเสี ยประตู แต่คนรวยพวกนี้ ให้ความสำคัญกับ การรักษ า
ประตูเท่า ๆ กับการทำเกม คนทั่วไปใช้ชีวิตเกินฐานะที่แท้จริง แต่คนรวย
ใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะ – ถึงจะมีคนรวยมาก ๆ บางราย ที่แสดงการใช้ชีวิตอย่างสุดหรู แต่คนรวย
โดยทั่วไปใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะที่แท้จริงคนรวยส่วนใหญ่ (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด – เพราะเราจะเห็นแต่ชีวิตของคนรวย
บางส่วนที่เขาแสดงให้เห็นต่อสาธารณะส่วนคนรวยที่รวยเงียบ ๆ เราก็จะไม่มีโอกาสได้เห็น แต่ไม่ใช่ไม่มีอยู่)
จะไม่ไหลไปตามกระแ ส วู บวาบ
พวกเขาต้องการอิสระทางการเงินและจะไม่เป็นท าส ของสิ่งต่างๆ พย าย ามทำตัวเอง
เป็นนักลงทุนสามารถทำได้แม้จะเป็นพนักงานประจำแต่ต้องฉลาดในการเลือกลงทุน
ต้องศึกษาให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นจากที่จะได้เงินงอกเงยขึ้นมา เงินนั้นอาจจะหายวับไปกับตาก็ได้